เป้าหมายหลัก

เป้าหมายหลัก : เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะการสื่อสาร เข้าใจถึงความแตกต่าง วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา สามารถฟังคำศัพท์ ประโยค เรื่องราว บทสนทนา จากนิทาน ละคร เพลง ภาพยนตร์ จับใจความสำคัญ ตอบคำถาม โดยให้เหตุผล รวมทั้งสามารถถ่ายทอดสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ รวมทั้งสามารถใช้ภาษา เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สู่สังคมโลกได้อย่างสร้างสรรค์

Week2

สิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ 2 
ระหว่างวันที่ 18-22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

กิจกรรมจิตศึกษา
       กิจกรรมจิตศึกษา เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กนักเรียนกลับมารู้ตัวเอง กลับมาอยู่กับตัวเองมากยิ่งขึ้น เป็นการเริ่มต้นเช้าวันใหม่ที่มีความหมาย ซึ่งในสัปดาห์นี้พี่ๆมัธยมก็ได้ทำจิตศึกษารูปแบบที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม เช่น
       จิตศึกษาของพี่ๆม.๑
       กิจกรรมจิตศึกษาโดยผ่านกระบวนการเล่าเรื่องโดยการต่อเลโก้ที่แสดงความเป็นตัวเองมากที่สุด
       จิตศึกษาของพี่ๆม.๓
 


ภาพประกอบกิจกรรมจิตศึกษา ตัวตนของเราผ่านการแต่งบทกวี

       กิจกรรมจิตศึกษาโดยผ่านกระบวนการแต่งกลอน แต่งกวี แต่งคำที่บ่งบอกถึงความเป็นเรามากที่สุดโดยคำพูดเพียงสั้นๆของนักเรียนซึ่งนอกจากจะสามารถบรรยายลักษณะบุคลิก ลักษณะนิสัยแล้ว ที่สำคัญที่สุดคือเป็นคำพูดที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของคนๆนั้นได้ดีเลยที่เดียว เช่น คำพูดของพี่กระถิ่น “สละชีพเพื่อชาติ”
      กิจกรรมจิตศึกษาโดยผ่านการสัมผัสและการมองดูเมล็ดพันธุ์ ๓ ชนิด คือ เมล็ดพันธุ์ของถั่วเขียว เมล็ดมะขาม และเมล็ดยาง และครูดอกไม้ถามนักเรียนว่า “พี่ๆคิดว่าถ้าเอาเมล็ดพันธุ์เหล่านี้ไปปลูกในสถานที่ที่ไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเมล็ดพันธุ์เหล่านี้จะเป็นอย่างไรบ้าง? และถ้าเปรียบเทียบองชีวิตองนักเรียนว่า ถ้าเราเกิดได้ไปอยู่ในสถานที่ที่ไม่เหมาะสม พี่ๆจะมีวิธีการปรับตัวกันอย่างไร?พร้อมเหตุผล
      กิจกรรมจิตศึกษาโดยผ่านการเดินสำรวจโรงเรียนกันเป็นคู่ โดยใช้รูปแบบ walk and talk โดยโจทย์ในวันนี้ก็คือ ความเปลี่ยนแปลงของโรงเรียนโรงมีอะไรบ้าง? ทำไมโรงเรียนถึงต้องเปลี่ยน?และเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นหรือไม่?
       ส่วนกิจกรรมจิตศึกษาที่ประทับใจมากที่สุดคือ “เรื่องเล่าจากไข่” ซึ่งกิจกรรมนี้ครูดอกไม้ให้เด็กนักเรียนทายว่าอะไรที่อยู่ในผ้า บางคนก็ทายว่ากล่องบ้าง กระดาษบ้าง แต่พอถึงคนสุดท้ายกลับกลายเป็นไข่ไก่ (ส่วนตัวแล้วคิดว่ากิจกรรมนี้โอเครมากเลย เพราะสามารถดึงเอาสิ่งที่มีอยู่ใกล้ตัวมาให้เขาได้ทำกระบวนการจิตศึกษา) หลักการนั้นครูก็ถามนักเรียนทุกคนพร้อมกันว่า
      คำถามที่ ๑
สมมุติว่าเราเป็นไข่ไก่ บอกความรู้สึกของไข่ไก่ที่อยู่ในฟอง และอยู่นอกฟองว่าความรู้สึกแตกต่างกันอย่างไร นักเรียนก็ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำถามนี้อย่างตั้งใจ บางคนบอกว่า
“ถ้าเป็นไข่ที่อยู่ในฟองจะรู้สึกถึงความปลอดภัย ถ้าเปรียบเปลือกไข่เสมือนครอบครัว ก็เป็นบุคคลที่คอยปกป้อง ดูแล คุ้มครองเราให้พ้นจากภัยอันตราย แต่เมื่อเราเป็นไข่ที่ฟักแล้ว คือเราต้องดูแลตัวเราเองมากขึ้น พยายามทำทุกอย่างด้วยตัวของเราเอง เพราะเราต้องดำเนินชีวิตให้อยู่รอดให้ได้”
   
ภาพประกอบจิตศึกษา "เรื่องเล่าจากไข่"
คำถามที ๒
ตอนนี้นักเรียนเป็นไข่ที่อยู่ในฟอง ไข่ที่กำลังร้าว และไข่ที่แตกแล้ว
พี่มายด์ :   เป็นไข่ที่อยู่ในฟอง เราชีวิตมีแต่การถูกบังคับ มีแต่กฎและระเบียบ
พี่ฟิล์ม :     เป็นไข่ที่กำลังร้าว เพราะว่าเราพร้อมแล้วกับการที่จะไปเรียนรู้โลกภายนอก 
พี่ฟ้า(รุ่ง): เป็นไข่ที่แตกแล้ว เพราะว่าช่วงปิดเทอมที่ผ่านมา ฟ้ามีโอกาสไปอยู่กรุงเทพ และคำถามนี้แฝงไปด้วยคำตอบให้ทราบว่า เขาเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิต แต้องพยายามปรับตัวตัว อยู่ด้วยตัวของตัวเองให้ได้

การจัดการเรียนรู้วิชาในรายวิชาอื่นและวิชาบูรณการณ์องนักเรียนชั้นม.๓
      บรรยากาศในห้องเรียนครูดอกไม้พยายามใช้คำถามที่มันกระตุ้นให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิดอยู่ตลอด พยายามพูดให้นักเรียนอยากแชร์ประสบการณ์ และความรู้อยู่บ่อยครั้ง ส่วนในเรื่องของกระบวนการคิดของพี่ม.๓อาทิตย์นี้ คือการสรุปองค์ความรู้ในรูปแบบต่างๆ เช่น
Mind Mapping
Head Map
Think-Pair -Share




 

   

ภาพประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนภายในห้องม.๓

การจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ
ในรายวิชาภาษาอังกฤษภาพรวมของพี่ๆมัธยมสัปดาห์นี้ ก็จะจัดกระบวนการเรียนรู้คล้ายกัน คือ
     1. สร้างข้อตกลงภายในห้อง ว่าช่วงเวลาไหนที่เราสามารถพูดภาษาไทยได้ และช่วงเวลาไหนที่เราต้องพูดภาษาอังกฤษ(ส่งเสริมให้นักเรียนกล้าพูดภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น)
We are speaking English
เรากำลังพูดภาษาไทย
และถ้ามีการพูดคุยในห้องเรียนก็จะมีการสลับที่นั่งกับเพื่อนในห้อง
      2. สร้างข้อตกลงเกี่ยวกับการใช้สัญลักษณ์มือ คือ “การยกมือขึ้นแล้วเงียบ” เป็นการเตรียมความพร้อม และงดการคุยเสียงดัง(สังเกตว่าถึงแม้ว่าครูจะใช้สัญลักษณ์มือในการเรียกความพร้อมแบบนี้ แต่ก็ยังมีนักเรียนบางส่วนที่พูดคุยกันในขณะที่ครูกำลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้)
      3. นักเรียนมัธยมทุกคนจะต้องทำหนังสือ Passport คนละหนึ่งเล่ม เอาไว้จดคำศัพท์ที่เราไม่รู้ และจดเวลาที่ครูให้งาน ต้องส่งตอนท้ายคาบทุกครั้ง ถึงจะข้ามไปเรียนในรายวิชาต่อไปได้
  


  
   ตัวอย่างการทำหนังสือ Passport

  
4. ครูจุลจะให้แต่ละห้องเล่นเกมส์ “ขอนัดเจอพี่ที่………”
ม.๑ เกมส์เศรษฐีเป็นการนัดเจอกันเกี่ยวกับสถานที่ต่างๆ เช่น ร้านเบเกอรี่ ร้านไอครีม ร้านหมูกระทะ เป็นต้น
ม.๒ เกมส์นัดเจอที่ประเทศต่างๆ เช่น Thailand China India เป็นต้น
ม.๓ เกมส์นัดเจอที่จังหวัดต่างๆในภาคอีสาน Se Sa Ket, Khon Kaen, Loei เป็นต้น



ตัวอย่างกิจกรรม
       ซึ่งกิจกรรมนี้สามารถเชื่อมโยงไปยังกิจกรรมที่เราต้องการให้เขาจับคู่ (Pair work)
ในการสนทนาภาษาอังกฤษ หรือทำกิจกรรมอื่นๆเพียงแค่ครูพูดว่า ขอนัดเจอพี่ที่....... นักเรียนก็จะมีคู่บั้ดดี้ในการทำกิจกรรมในภาษาอังกฤษโดยแต่ละครั้งเขาก็จะสลับสับเปลี่ยนคู่ในการทำกิจกรรมไปเรื่อย
     5. ครูจุลสร้างแรงในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดย การเอาคลิปวีดิโอที่คนไทยพูดภาษาอังกฤษได้(โทนี่จา ในการให้สัมภาษณ์ในฐานะนักแสงระดับ Hollywood และคุณน้องที่ไปทำการค้าขาย ข้าวมันไก่ที่อเมริกา)มาให้นักเรียนดู เป็นกระกระตุ้นให้เขาเห็นว่าภาษาอังกฤษนอกจากจะมีความสำคัญมากๆ ในปัจจุบันนี้เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเราพบเจอกับภาษาอังกฤษอยู่ตลอดเวลา และที่สำคัญมากกว่านั้นคือทุกคนสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ 
  
ครูจุลสร้างแรงวิชาภาษาอังกฤษโดยให้นักเรียนดูคลิปวีดิโอที่คนไทยพูดภาษาอังกฤษได้

      6. ใน Passport ที่ครูให้ทำตอนแรก นักเรียนก็จะเขียนสิ่งที่ชอบและไม่ชอบเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ และข้อเสนอแนะหรือกิจกรรมอื่นๆ ที่อยากให้มีในรายวิชาภาษาอังกฤษ ครูจุลก็เลยจัดกิจกรรมที่จะพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ(Reading Skill)ของนักเรียนโดยการให้นักเรียนเลือกหนังสือเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปคนละหนึ่งเล่มหัดอ่าน ให้ครูจุลฟังเพื่อทราบถึงพื้นฐานด้านการอ่านภาษาอังกฤษด้วย
         สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่สองของ Quarter แต่บรรยากาศการเรียนการสอนยังอยู่ในช่วงของการทำความรู้จักกันและกัน และกระบวนการสร้างแรงให้นักเรียนมีความรัก ความอยากเรียนในภาษาอังกฤษมากขึ้น
        คำถามที่สงสัยคือ บางที่เวลาที่ครูจุลสอนในรายวิชาภาษาอังกฤษบางทีเด็กนักเรียนบางกลุ่มก็จะพูดคุยกันจนไม่ค่อยได้สนใจเรียนเท่าไหร่ แต่พอเป็นรายวิชาภาษาไทยของครูณีนักเรียนกลับเงียบมาก อยากทราบว่าเป็นเพราะอะไรคะ?
งานฟาร์ม 
สัปดาห์นี้พี่ๆม.๓ ทำการปลูกพืช ผัก สมุนไพรเพิ่มหลายชนิดด้วยกัน เช่น
ปลูกแตงโม
ปลูกแตงไทย
ปลูกน้ำเต้า
ปลูกพริก
ปลูกผักสลัด
ปลูกว่านหางจระเข้
ปลูกว่านกาบหอย เป็นต้น
       ส่วนการทำให้ไก่เราเปลี่ยนมาเป็นไก่ออแกนิคอย่างเต็มรูปแบบ คือเราก็เสนอทางผู้ปกครองเรียบร้อยแล้วว่าให้มาช่วยในส่วนของการขยายเล้าไก่
  

  ภาพประกอบกิจกรรมงานฟาร์ม








 กิจกรรม Body Scan
       ในวันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา ดิฉันมีโอกาสได้นำทำ Body Scan เป็นอะไรที่ตื่นเต้นมากๆ เพราะว่าเป็นการลองทำครั้งแรก พูดผิดพูดถูก แล้วปกติก็เป็นคนที่พูดเสียงใหญ่อยู่แล้ว พอจะให้มาเปลี่ยนเป็นเสียงเล็กๆก็จะรู้สึกเขินๆนิดหนึ่ง แต่ก็ทำอย่างเต็มความสามารถ จากการทำกิจกรรมครั้งนี้ได้เรียนรู้เลยว่าบางอย่างเราเรามองดู เราสังเกตอย่างเดียวไม่ได้ เราต้องมีการจดไว้ด้วย เพราะบางทีพอเราได้ลงมือทำจริงๆ เราก็อาจจะตื่นเต้นจนลืม

ภาพประกอบการทำกิจกรรม Body Scan 22/05/2015










1 ความคิดเห็น: