เป้าหมายหลัก

เป้าหมายหลัก : เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะการสื่อสาร เข้าใจถึงความแตกต่าง วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา สามารถฟังคำศัพท์ ประโยค เรื่องราว บทสนทนา จากนิทาน ละคร เพลง ภาพยนตร์ จับใจความสำคัญ ตอบคำถาม โดยให้เหตุผล รวมทั้งสามารถถ่ายทอดสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ รวมทั้งสามารถใช้ภาษา เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สู่สังคมโลกได้อย่างสร้างสรรค์

Week3

สิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ 3 
ระหว่างวันที่ 18-22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

กิจกรรมจิตศึกษา
       จิตศึกษาของพี่ๆม.๑
       สำหรับภาพรวมของอาทิตย์นี้ กิจกรรมศึกษาของนักเรียนชั้น ม.๑ ก็จะมีความแตกต่างจากพี่ม.๓ พอสมควร เพราะครูป้อมให้พี่ม.๑ ทำโยคะมินตรา ซึ่งเป็นสิ่งแปลกใหม่กับพี่ๆม.๑ มาก ทุกคนดูตั้งใจแต่ก็แฝงความตื่นเต้นอยู่ไม่น้อย ซึ่งกิจกรรมนี้นอกจากจะเป็นการฝึกการทำโยคะ การกำหนดลมหายใจ การจดจ่ออยู่กับตัวเองแล้ว การทำโยคะยังช่วยให้ระบบหมุนเวียนเลือดของเราดีขึ้นอีกด้วย
 

  
กิจกรรมโยคะมินตราของครูป้อม      

ส่วนกิจกรรมจิตศึกษาที่ประจำใจมากๆของอาทิตย์ก็คงเป็น การทำจิตศึกษาโดยมีคุณป้าแม่บ้านมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่จะทำให้เรามีความรู้สึกว่าเราจะเห็นคุณค่าของคนทุกคนเท่าเทียมกัน ไม่ว่าคนๆนั้นจะเป็นใครก็ตาม จะเป็นแม่บ้าน แม่ครัว คนงาน ยาม ครู นักเรียน ทุกคนล้วนเป็นมนุษย์ที่มีคุณค่าด้วยกันทั้งนั้น และสิ่งที่ประทับใจอีกอย่างก็คือ ครูป้อมให้นักเรียนมอบความรักให้คุณป้ากว้าง(คุณป้าแม่บ้านคนเก่งของเรา)โดยการส่งพลังโดยการโอบกอดและพูดให้กำลังใจ เป็นเหตุการณ์ ทีทำให้ข้าพเจ้าเองคิดถึงแม่มากๆ 
  




     
มอบความรักผ่านการโอบกอด "คุณป้ากว้าง"

การจัดการเรียนรู้วิชาบูรณการณ์องนักเรียนชั้นม.๑
      บรรยากาศในห้องของพี่มอหนึ่งอาทิตย์นี้ เป็นการเลือกหัวข้อที่อยากจะเรียน โดยเป็นการเรียนที่เน้นผู้เรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่อยากเรียนจริงๆ หลังจากที่ได้เนื้อหาที่จะเรียนมาแล้ว ก็เป็นการเลือกหัวข้อโครงงาน เป็นการเลือกหัวข้อโครงงานที่เคารพในการตัดสินใจของเสียงส่วนมาก เรื่องโครงงาน คือ "Natural Kitchen" และนอกจากนั้นนักเรียนม.๑ ได้ทำการคัดเลือกพันธุ์ข้าวใน PBL คู่ขนาน 4 เมล็ด 2000เมล็ด เรียบร้อย จากกิจกรรมการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว แสดงให้เราเห็นทักษะการค้นคว้าหาความรู้ เพราะว่ากว่าที่เขาจะเลือกเมล็ดพันธุ์ที่เขาคิดว่าดีที่สุด นักเรียนจะต้องผ่านกระบวนการหาข้อมูล จากอินเตอร์เน็ต จากผู้รู้โดยตรง และรวมไปถึงรุ่นพี่ของพวกเขาด้วย 
   

                                                         บรรยากาศการเลือกหัวข้อ PBL ของนักเรียนชั้นม.๑  


      นักเรียนแต่ละคนทำการคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวที่เขาคิดว่าเป็นเมล็ดที่สมบูรณ์ที่สุดคนละ 4-5 เมล็ด
 ข้าวสี่เมล็ดของนักเรียนชั้นม.๑
 


   


  

สมุดบันทึกข้าว ซึ่งสมุดเล่มนี้จะเก็บบันทึกกระบวการการปลูกข้าวตั้งแต่ตอนแรก "ขนดิน" บันทกไปเรื่อยๆ 

      หลังจากที่นักเรียนคัดเลือกข้าวคนละ 4 เมล็ดแล้วแต่ละคนก็จะมีถุงสำหรับใส่ข้าวของตนเอง เพื่อรอเอาไปปลูกที่ท่อบางคนก็ใส่น้ำเล็กน้อย บางคนก็ใส่น้ำเยอะ บางคนก็เลือกที่จะใส่ดินด้วย(เทคนิคของนักเรียนแต่ละคน)
     ครูป้อมเตรียมข้าวที่จะปลูกที่นาข้างบ้านม.๑ โดยการปลูกข้าวโดยใช้แกลบดำปลูก แล้วเอาไปลอยไว้บนผิวน้ำเพื่อที่ต้องการให้แกลบดูดน้ำมากยิ่งขึ้น


การจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ
      สัปดาห์นี้ครูจุลจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษผ่านเพลง(Song) และเรื่องสั้น(Short story) 
โดยใช้วิธีการ
      เรียนคำศัพท์จากเพลง/เรื่องสั้น
      ทำแบบฝึกหัดจากเพลงและเรื่องสั้น (Fill in the blank)
      อ่านออกเสียงเพลงและเรื่องสั้น
      เล่นเกมส์จากเพลง/เรื่องสั้น
      Role play สถานการณ์จำลองที่ทำให้นักเรียนได้ฝึกภาษาจากบทสนทนาง่าย
      ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ค่อนข้างที่จะดึงความสนใจของนักเรียนได้ดีในระหนึ่งเลยที่เดียว เพราะการเรียนการสอนที่เน้นแต่หลักไวยากรณ์อย่างเดียว นอกจากจะทำให้นักเรียนเบื่อและส่งผลให้ไม่ชอบภาษาอังกฤษเลยก็ได้

ภาพรวมของชั้นม.๑
ฟังเพลง(Price Tag) --เล่นเกมส์(ซื้อผลไม้)--ดูคลิปการซื้อ--ขายของในสถานการณ์ต่างๆ--Role-play : นักเรียนฝึกสนทนาการซื้อ-ขายในสถานการณ์ต่างๆ ดังนี้ 
      ร้านขายเสื้อผ้า
      ร้านขายยา
      ไปรษณีย์



    
ภาพรวมของชั้นม.๒
อ่านเรื่องสั้น(Birthday Card)--ทำแบบฝึกหัดจากเนื้อเรื่อง--ทำการ์ดวันเกิด--ฝึกการใช้บทสนทนาง่ายๆในการถามเกี่ยวกับวันเกิด ลักษณะการบอกวันเกิดแบบง่ายๆโดยผ่านการเล่นเกมส์


ภาพรวมของชั้นม.๓
ฟังเพลง(Billionaire)--อ่านออกเสียงและร้องเพลง Billionaire--จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในหัวข้อ WH-Question--ทำแบบฝึกเพื่อเช็คความเข้าใจการใช้ WH-Question



 เทคนิคที่สังเกตได้จากครูจุลมีหลายๆแบบคือ
 เทคนิคการเก็บเด็ก
       1.มีสัญญานมือ(ยกมือขึ้น) เพื่อให้นักเรียนเงียบและกลับมาอยู่กับตัวเองมากขึ้น
       2.สลับที่นั่งถ้ามีการคุยระหว่างการสอน
เทคนิคการแบ่งกลุ่มแบบคละเด็ก เพื่อไม่ให้นักเรียนเกาะกลุ่มอยู่กับกลุ่มเพื่อนเดิม
       1.แจกกระดาษตัวอักษรภาษาอังกฤษ แล้วให้นักเรียนนั่งตามกลุ่มคำที่ได้รับ เช่น กลุ่มทีได้ตัวอักษร BOOK ต้องนั่งด้วยกัน
       2.เกมส์ขอนัดเจอดที่....(ม.๑ ที่สถานที่ต่าง/ ม.๒ที่ต่างประเทศ/ม.๓ที่แต่ละจังหวัดในภาคอีสาน) เทคนิคนี้เป็นการจับคู่แบบคละกัน
    **;วันนี้(28//05/2558)รู้สึกแย่กับตัวเองมาก คือ เราอธิบายเนื้อหาด้านหลักไวยากรณ์ทางภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนชั้นม.๓ผิด(เรื่องการใช้ WH-Question) เข้าใจควารู้สึกเลยเลยว่าถ้าเราอธิบาย/สอนแบ/บผิดๆให้กับนักเรียนคือเขาจะจำแบบผิดไป เลยทำให้ตัวของเราเองมีความรู้สึกว่า เราจะต้องพัฒนาตัวเองเพิ่มขึ้นด้วยหลายเรื่องที่เกี่ยวกับภาษาอังกฤษเอง ไม่ว่าจะเป็นความรู้ด้านหลักภาษา ด้านคำศัพท์ ด้านการออกเสียง เป็นต้น 
       แต่ช่วงนี้ก็พยายามที่จะศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ อ่าน Short Storyและหนังสือภาษาอังกฤษมากขึ้น ฟังเพลงทที่เป็นสากลมากขึ้นค่ะ
  จากกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบนี้ ถือเป็นการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนเกิดทักษะการเน้นการพูดสื่อสาร สนทนาในสถานการณ์จำลองที่ครูกำหนดให้ เพื่อเป็นการนำสิ่งที่เขาเรียนมาพูด มาสื่อสารกับเพื่อน ซึ่งก็สังเกตุเห็นได้ว่านักเรียนส่วนใหญ่ให้ความสนใจในการทำกิจกรรมลักษณะนี้ เพราะว่าเขาไม่ต้องไปกังวลกับเนื้อหามากจนเกินไป เน้นเรียนอย่างมีความสุข สนุกสนาน ผ่านการทำกิจกรรมในรูปแบบต่างๆที่ครูพาทำ(เพลง เกมส์ การแสดงบทบาทสมมุติ)
คำถาม:นักเรียนทำไมปฏิบัติกับครูแต่ละคนไม่เหมือนกัน ในเรื่องของการสนใจการเรียนการสอน การพูดคุยส่งเสียงดังในห้อง คือ ถ้าเป็นครูคนเก่าๆบรรยากาศภภายในห้องก็จะดำเนินการสอนไปได้โดยดี เพราะเด็กจะไม่ค่อยคุย แต่ตรงกันข้ามกับครูเขาไม่เคยรู้จักมาก่อน เขาก็จะมีการพูดคุยเสียงดังบ้าง ไม่ค่อยสนใจบ้าง บางทีเราก็รู้สึกแย่ไปด้วย เพราะนึกภาพออกเลยว่าถ้าเกิดในสอนจริงๆ บรรยากาศแบบนี้ต้องเกิดขึ้นกับเราแน่ๆ

พิธีชา
     วันนี้ตื่นเต้นมาก เพราะได้เข้าร่วมพิธีชาของพี่มัธยมครั้งแรก เป็นกิจกรรมที่ค่อนข้างเรียบง่ายแต่สิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ได้หลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของทุกๆฝ่าย ฝ่ายผู้บริการเองก็ดี เพื่อนๆที่นั่งรอด้วยความสงบก็ดี และที่มากไปกว่านั้นคือ เด็กนักเรียนกลับมานิ่งขึ้น กลับมาอยู่กับตัวเองมากยิ่งขึ้น และทุกคนรับฟังสิ่งที่เพื่อนพูดและแชร์ในขณะที่ดื่มชา คือชอบการจัดกิจกรรมแบบนี้มาก ชอบการพูดที่มีผู้ฟัง ชอบที่คนทุกคนรับฟังเพื่อนพูดอย่างตั้งใจ ชอบที่เราไม่ไปตัดสินคำพูดของคนอื่นว่าถูกหรือ เป็นกระบวนการที่ผ่านการคิดว่าอย่างแยบยลเพราะถ้ามีเด็กนักเรียนพูดหรือแสดงความคิดเห็นแล้ว  ถ้าเขาพูดยังไม่ถูกแล้วมีคนบอกว่าเขาพูดไม่ถูกนะ คือ ความตั้งใจที่จะพูดครั้งหน้าก็คงไม่มีแล้วแต่นี้เป็นการสนับสนุนให้นักเรียนกล้าคิด กล้าพูดมากขึ้น
การับไหว้กันทุกครั้งที่มีผู้บริการให้กับเรา วิถีที่เราชาวลำปลายมาศพัฒนายึดถือเป็นแนวปฏิบัติมาโดยตลอด

กิจกรรม Body Scan
พี่เจมส์เล่นดนตรีให้น้องๆฟัง

Body Scan วันนี้ไม่มีเพลงสปาเหมือนทุกวัน มีแต่บทเพลงเพราะจากพี่เจมส์ที่จะมากล่อมน้องๆม.๑ วันนี้
      กิจกรรม Body Scan ของนักเรียนชั้นม.๑แตกต่างจากพี่ๆม.๓มากๆ คือครูป้อมจะเน้นการเปิดนิทาน เรื่องเล่าที่นอกจากจะให้ความสนุก น่าติดตาม ยังสอดแทรกข้อคิดดีๆจากนิทานด้วย เรื่องไล่ตงจิ้น และวันสุองๆหลายคน กลับมาที่โรงเรียนอีกครั้ง นอกากพี่จะเล่าเรื่องราว สิ่งที่พี่เจอเพื่อเป็นประสบการณ์แก่น้องๆแล้ว วันนี้ 29/05/2558 พี่เจมส์ยังมีบทเพลงเพราะๆมาส่งน้องในนอนหลับผักผ่อนในช่วงของ Body Scan อีกด้วย เป็นถาพที่น่าประทับใจมาก พี่ร้องเพลงกล่อมน้อง**ส่วนในรายวิชาการเรียนการสอนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นทักษะชีวิต ทักษะอนาคต ICT  คือสามารถทำให้เราได้เห็นการเรียนการสอนในรูปแบต่างๆ การแสดงออกถึงคำพูด ตัวหนังสือ ล้วนแต่มากระบวนการคิดที่หลากหลายทำให้เรารู้สึกได้เลยว่านักเรียนที่นีเป็นนักเรียนที่มีระบบการจัดการกระบวนการคิดได้เร็วมาก ส่งผลให้งานออกมาค่อนข้างดีเลยที่เดียว

3 ความคิดเห็น:

  1. นอกจากครูและนักเรียนจะเรียนรู้เกี่ยวกับด้านความรู้แล้ว การเรียนรู้ซึ่งกันและกันก็เป็นสิ่งสำคัญ ในฐานะนักเรียนก็จะต้องเรียนรู้ในการปรับตัวกับครูใหม่ ในฐานะครูก็ต้องปรับเรื่องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น ให้เหมาะกับช้ั้นเรียน ทั้งในภาพรวมและแต่ละคน

    ตอบลบ