เป้าหมายหลัก

เป้าหมายหลัก : เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะการสื่อสาร เข้าใจถึงความแตกต่าง วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา สามารถฟังคำศัพท์ ประโยค เรื่องราว บทสนทนา จากนิทาน ละคร เพลง ภาพยนตร์ จับใจความสำคัญ ตอบคำถาม โดยให้เหตุผล รวมทั้งสามารถถ่ายทอดสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ รวมทั้งสามารถใช้ภาษา เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สู่สังคมโลกได้อย่างสร้างสรรค์

Week4

สิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ 4 
ระหว่างวันที่ 1-5 มิถุนายน พ.ศ. 2558

กิจกรรมจิตศึกษา
       จิตศึกษาของพี่ๆม.๒
จิตศึกษาของม.๒ ครูเส็งเริ่มต้นเช้าวันใหม่ด้วยการทำโยคะ ซึ่งการทำโยคะของพี่ๆม.๒ ก็ไม่ได้มีความแตกต่างกัน ทั้งเรื่องของความตื่นเต้น เพราะม.๒ เพิ่งทำโยคะครั้งนี้เป็นครั้งแรก(ตั้งแต่เปิดQuarter 1) ท่าที่พากันตื่นเต้นเป็นพิเศษ คือ ท่าตั๊กแตน ส่วนท่าที่ทุกคนในห้องชอบกันเป็นพิเศษก็เห็นจะเป็นท่าสุดท้าย คือ ท่าจระเข้(เพราะเป็นท่าที่พวกเขาได้พักผ่อนและกลับมารู้ตัวเองอีกครั้ง)
โยคะของนักเรียนชั้นม.๒
 
จิตศึกษาโดยการให้นักเรียนเดินสำรวจความเปลี่ยนแปลงต่างๆของโรงเรียน ว่าโรงเรียนมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง เป็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นมั้ย แล้วสุดท้ายนักเรียนมีความรู้สึกต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นๆอย่างไรบ้าง แล้วนักเรียนถ่ายทอดออกมาในรูปแบบที่เป็นคำพูด และการวาดภาพ


จิตศึกษาม.๒ เดินสำรวจรอบโรงเรียน

จิตศึกษาวันที่ 4/06/2558
วันนี้ครูปัดกับครูศักดิ์วันนี้เป็นการทำจิตศึกษาพี่ม.๒  โดยการให้นักเรียนตีความจากเพลง แล้วเขียนบรรยายความรู้สึกผ่านการเขียน “เพลงกำลังใจ” เป็นเพลงที่สื่อความหมายถึงการให้กำลังใจได้ดีมากค่ะ นักเรียนได้แสดงความรู้สึกลึกๆที่พวกเขามีต่อเพลงนี้ พร้อมตั้งชื่อเพลงในแบบฉบับองตัวเองอีกด้วย
**จิตศึกษาไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหนก็ตาม แต่จุดประสงค์หลักก็คือ ให้นักเรียนกลับมารู้ตัวเอง เป็นการเริ่มต้นวันใหม่ที่มีความหมายไปพร้อมๆกัน
ครูศักดิ์และครูปัดทำจิตศึกษา "ดนตรีบรรดาลใจ"

ภาษาอังกฤษ
2/06/2558
ภาษาอังกฤษ ม.๒ เล่นเกมส์ “ส่งสารสื่อความ”
เกมส์นี้เป็นเกมส์ที่เรียกความสนใจจากนักเรียนได้ระดับหนึ่งเลยทีเดียว คือเรื่องราวที่นำมาผูกเป็นเนื้อเรื่องก็เป็นสิ่งที่ยาก-ง่ายจนเกินไป เวลาที่เขาทำกิจกรรมสังเกตว่าเขามีความสุข ชอบในกิจกรรมที่เราพาเขาทำ




ผลงานนักเรียน


ภาษาอังกฤษ ม.๑ เล่นเกมส์ Spot the difference “Kitchen”
            ก่อนที่จะเล่นเกมส์ คือ ครูมีการทบทวนคำศัพท์เกี่ยวกับสิ่งของภายในครัว ว่ามีอะไรบ้างที่อยู่ในครัว จากนั้นครูก็พาเล่นเกมส์และสุดท้ายให้นักเรียนเขียนคำศัพท์ที่รู้จากภาพอย่างน้อยคนละ 5 คำ แต่ผลที่ออกมาก็คือ นักเรียนบางคนบอกว่าเกมส์นี้ง่ายมาก ไม่ค่อยน่าสนใจ     
            จากการสอนทั้งสองคาบวันนี้ คือถ้าประเมินตัวเองก็คงอยู่ในระดับที่พอใช้ เพราะส่วนตัวเองแล้วคิดว่าตัวกิจกรรมก็สามารถดึงความสนใจจากนักเรียนได้ในระดับหนึ่งเหมือนกัน แต่จะมีตรงที่เวลาที่เก็บเด็ก ขอสัญญาณความพร้อมจากเด็ก บางทีเด็กยังไม่พร้อมหมดทุกคนแต่เราก็พูดแทรกขึ้นมาแล้วเหมือนส่วนตัวแล้ว เรามีความรู้สึกว่าเดี๋ยวเราจะสอนนักเรียนไม่ได้หมดอย่างที่เตรียมไว้ เลยส่งผลให้นักเรียนคนที่ฟังก็คนเดิมๆ คนที่ไม่ฟังก็ยังเป็นคนเดิมๆอยู่


  


แบบฝึกหัด "คำศัพท์ในห้องครัว"

3/06/2558
 ภาษาอังกฤษ ม.๑-๒  เล่นเกมส์ How do you feel today?
นักเรียนชั้นม.๑วันนี้
ครูเริ่มกิจกรรมโดยเล่นเกมส์ HANGMAN คำว่า FEELING (ดึงดูดความสนใจนักเรียนได้ในระดับหนึ่ง) หลังจากนั้นครูให้นักเรียนทายคำศัพท์จากรูปภาพว่าเป็นภาพที่กำลังแสดงอารมณ์แบบไหน ลองเดาเป็นภาษาอังกฤษ แต่ปรากฏว่า คำศัพท์ส่วนมากคือเด็กนักเรียนก็ยังไม่ทราบว่าเขียนอย่างไร ครูเลยแก้ปัญหานี้โดยการเขียนคำศัพท์บนกระดานทีละคำ พร้อมความหมาย แต่เริ่มสังเกตเห็นถึงสัญญาณบางอย่างที่กำลังบอกเราว่านักเรียนเริ่มที่ไม่สนใจ พูดคุยกันมากขึ้น เวลาที่ครูขอสัญญาณความพร้อมก็ทำได้แค่ตอนที่บอก นอกนั้นก็คุยกันเหมือนเดิม คุยเหมือนไม่ได้คุยกันมาเป็นปี ท้ายที่สุดแล้วเวลาก็หมดลงและกิจกรรมก็ดำเนินต่อไปไม่ได้ แต่ก่อนที่จะหมดคาบวันนี้ครูก็อธิบายเกี่ยวกับ Question Box (ว่าเป็นกล่องที่นักเรียนสามารถมาฝากคำถาม ข้อสงสัย เกี่ยวกับการเรียนภาษาอังกฤษได้ ในคาบภาษาอังกฤษอยากให้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นไปแบบไหน ก็สามารถมาฝากถามได้ เพราะว่าครูจะทยอยตอบคำถามเรื่อยๆ
นักเรียนชั้นม.๒วันนี้
กิจกรรมเดียวกันแต่บรรยากาศในห้องกลับมีความแตกต่างกัน อาจจะเป็นเพราะการที่เราปรับเปลี่ยน และลำดับกิจกรรมที่ชัดเชนมากยิ่งขึ้น ทำให้เวลากระชับขึ้น กิจกรรมสามารถดำเนินการไปได้ราบรื่นขึ้น นักเรียนสนุกสนานกับกิจกรรมนี้มากๆ How do you feel today? โดยเฉพาะตอนที่ให้นักเรียนและคุณครูทำกิจกรรม Action ทำท่าทางให้เพื่อนแสดงอารมณ์ ความรู้สึกตอนนั้นคือ กิจกรรมนี้ก็สามารถเรียกเสียงหัวเราะ และรอยยิ้มของเพื่อนได้ไม่น้อยเลยทีเดียว
กิจกรรมแบบเดียวกัน ถ้าเรานำมาใช้ในระดับชั้นที่แตกต่างกัน ความรู้พื้นฐานที่แตกต่างกัน ผลลัพท์ที่ออกมาย่อมแตกต่างกัน


 

                        

ภาพรวมกิจกรรม How do you feel today?
4/06/2558
นักเรียนชั้นม.๑
กิจกรรมม.๑วันนี้ ต่อเนื่องมาจากการทำกิจกรรมเมื่อวาน ที่นักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ที่แสดงความรู้สึก(Feeling) ในรูปแบบต่างๆ โดยตอนแรกคือเราทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์ว่าเข้าใจมากน้อยแค่ไหน แล้วก็ลองให้นักเรียนแสดงท่าทางของความรู้สึกนั้นๆว่าถ้าตอนนี้เราโกรธ (Angry) เราจะแสดงอย่างไรให้เพื่อนรู้ว่าตอนนี้เรากำลังโกรธ หลังจากนั้นก็จัดกิจกรรม Bingo ต่อเลย ถ้าประเมินการสอนทั้งคาบวันนี้ ตอนที่พาเค้าเล่นเกมส์น่าจะเป็นส่วนที่ดึงดูดเขาได้มากที่สุด เพราะว่านักเรียนมีความกระตือรือร้นที่อยากจะทำกิจกรรม อยากมีส่วนร่วม อยากเล่นเกมส์ให้เสร็จก่อนเพื่อน บรรยากาศแบบนี้สามารถทำให้ห้องเรียนน่าเรียนขึ้น ถึงแม้ว่าการควบคุมชั้นเรียนโดยรวมยังไม่ลงตัว นักเรียนบางคนทั้งๆที่เราพยายามพูดกับเขา พยายามเข้าหาเขาแต่เขาก็ยังไม่สนใจเหมือนเดิม แต่ว่าก็จะไม่ท้อค่ะจะต้องมีสักวันที่เด็กนักเรียนพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆไปพร้อมๆกันแน่นอน

นักเรียนชั้นม.๓(สังเกตการณ์จัดการเรียนการสอนครูจุล)
ภาพรวมของม.๓ อาทิตย์นี้

ครูจุลให้นักเรียนดูวิดีโอที่คนต่างชาติพูดภาษาไทยได้ เพื่อเป็นการสร้างแรง ให้นักเรียนว่าเราก็สามารถพูดภาษาอังกฤษได้เหมือนกันถ้าเรามีความพยายาม

ครูจุลให้นักเรียนเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านเรื่องสั้น Short story โดยให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการฟังก่อน จากนั้นก็มีการเชื่อมโยงเนื้อหากับเรื่องที่เรียนอาทิตย์ที่แล้ว คือเรื่อง WH-Question และอีกเทคนิคหนึ่งที่คิดว่าน่าสนใจก็คือ การนำเข้าสู่บทเรียนโดยการเล่นเกมส์ What is it? (เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนตื่นตัวก่อนการเข้าสู่เนื้อหา เป็นการดึงดูดความสนใจของนักเรียนได้ดีเลยทีเดียว)
ภาพรวมของภาษาอังกฤษในสัปดาห์นี้ เป็นลักษณะที่ คือ จะทำอย่างไรให้นักเรียนคิดว่าการเรียนภาษาอังกฤษเป็นเรื่องที่สนุกสนาน ไม่ยากจนเกินไป ก็เลยคิด Theme ประมาณว่าเรียนภาษาอังกฤษผ่านกระบวนการเล่นเกมส์ จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้คล้ายกับการเข้าค่ายภาษาอังกฤษ เน้นความสนุกสนาน เฮฮามากกว่าการเรียนที่ต้องกังวลเกี่ยวกับหลักไวยากรณ์ แต่ขนาดว่าสิ่งที่เราคิดมาว่าอยากให้เขาสนุกกับกิจกรรม อยากพาเล่นเกมส์ แต่ถ้ารังควบคุมชั้นเรียนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไม่ได้ การจัดการเรียนการสอนให้ประสบผลสำเร็จย่อมยากแน่นอน


สิ่งที่อยากจะพัฒนาตัวเอง
สิ่งที่อยากจะพัฒนาตัวเอง คือ การควบคุมชั้นเรียน บรรยากาศการเรียนการสอนคือนักเรียนยังไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียว เค้ายังไม่นิ่งพอ ทำให้การเรียนเป็นไปด้วยความยากพอสมควร การจัดการเรื่องเวลาให้มีความเหมาะสม ไม่เลทเวลาของวิชาอื่นเกินไป และลำดับกิจกรรมการเรียนการสอนให้ดีกว่านี้ ว่าสิ่งไหนควรสอนก่อนสอนหลัง กิจกรรมที่ทำจะได้ไหลลื่นไปด้วยดี
ภาพรวมของนักเรียนชั้นม.๒
ชอบบรรยากาศการเรียนการสอนแบบนี้ การเรียนการสอนที่ไม่ได้กังวล นึกถึงตัวเองเพียงฝ่ายเดียว เป็นการเรียนที่เราต้องนึกถึงเพื่อนๆ คนรอบข้าง เป็นการเรียนที่เราต้องก้าวผ่านอุปสรรค์ ปัญหาทุกอย่างไปด้วยกัน คือ เรื่องมีอยู่ว่า พอเพื่อนในห้องเขามีปัญหาเกี่ยวกับการเรียน จนไม่อยากมาเรียนอีกแล้ว อยากลาออกจากโรงเรียนพอปัญหาเกิดขึ้น คือ ทั้งครูและเพื่อนก็ช่วยกันแชร์ ช่วยกันรับฟังปัญหา ช่วยกันหาทางแก้ไข ปัญหาไปพร้อมๆกัน ทำให้เราได้เห็นอีกมุมหนึ่งของเด็กๆที่นี่(เป็นมุมเล็กๆที่ประทับใจเรามากๆเหมือนกัน)คือ เขาจะช่วยกันแก้ปัญหา และเขาจะผ่านปัญหานี้ไปพร้อมๆกัน
การจัดการเรียนรู้วิชาบูรณการณ์องนักเรียนชั้นม.๒
      บรรยากาศในห้องของพี่ม.๒ คือตอนนี้จับกลุ่มแบ่งกันศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับการทำสงครามและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่มีอยู่ทั่วโลก การจัดการเรียนการสอนแบบนี้คือ นักเรียนทุกคนจะมีทักษะการค้นคว้าหาข้อมูล แล้วนำข้อมูลที่ได้มาแชร์ให้เพื่อนรู้ด้วย เพราะการที่เราจะสามารถอธิบายให้คนอื่นเข้าใจเราได้แล้วนั้น เราก็ต้องมีการศึกษา ทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลมาพอสมควร และอีกอย่างการเรียนแบบนี้เป็นการเรียนที่ทุกคนในห้องได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และรวมไปถึงการเขียน Timeline ของแต่ละกลุ่ม ว่าแต่ละกลุ่มแต่ละเรื่องเป็นยังงัยบ้าง เกิดเหตุการณ์สำคัญอะไรบ้าง และคนที่มีบทบาทในแต่ละยุคสมัยมีใครบ้าง

 


บรรยากาศให้ห้องเรียนชั้นม.๒ 


 เทคนิคที่สังเกตได้จากครูจุลมีหลายๆแบบคือ
 เทคนิคการเก็บเด็ก
       1.มีสัญญานมือ(ยกมือขึ้น) เพื่อให้นักเรียนเงียบและกลับมาอยู่กับตัวเองมากขึ้น
       2.สลับที่นั่งถ้ามีการคุยระหว่างการสอน
เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียน และสรุปบทเรียน
butterfly



1.      การใช้เกมส์ Word Search ในหัวข้อ “What is it?” การนำเข้าสู่บทเรียนแบบนี้ช่วยให้นักเรียนกระตือรือร้นในการตอบคำถามมากยิ่งขึ้น
2.      เกมส์ทายคำศัพท์ที่เป็นการใบ้คำแบบตรงโดยใช้ภาษาอังกฤษ(เป็นเกมส์ที่เรียกความสนใจจากนักเรียนชั้นม.๓ ได้ดีมากๆ อยากจะขอยืมเกมส์นี้ของครูจุลไปลองใช้กับนักเรียนเราบ้าง) เช่น
He’s big : เขาใหญ่
Hold elephant : เกาะช้าง
Some-Pre-Prime Minister : บางปู
Eraser city : ลพบุรี
War book : สมุทรสงคราม
Monks’ leg : สงขลา
Mother room teach : แม่ฮ่องสอน
Money : ตรัง
Happy land Siam
Fish China Town : ปราจีนบุรี

พิธีชา 
พิธีชาของพี่ๆม.๒ วันนี้  05/06/2558 
เป็นพิธีการเรียบง่าย แต่เป็นพิธีที่นักเรียนทำทีไร ก็แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจ สงบ และกลับมาอยู่กลับตัวเองมากขึ้น เป็นการที่มานั่งพูดคุยแชร์ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน บรรยากาศเป็นกันเอง นั่งคุยแบบเปิดใจและจิบชาในช่วงบ่ายแบบนี้
ความรู้สึกนักเรียนมีต่อครูและมีต่อเพื่อนอย่างไรกันบ้าง คำพูดหนึ่งของนักเรียนที่เราประทับใจ คือ "ขอบคุณสำหรับมิตรภาพดีๆที่ผ่านมา และอยากให้เป็นมิตรภาพดีๆแบบนี้ตลอดไป" 
กิจกรรม Body Scan
  กิจกรรม Body Scan ของนักเรียนชั้นม.๒มีความคล้ายคลึงจากพี่ๆม.๓ คือครูเส็งจะเน้นการอ่านนิทานที่เต็มเปลี่ยมไปด้วยข้อคิดจากเนื้อเรื่อง และเมื่อนักเรียนตื่นจากการ Body Scan ครูก็จะมีการถามเพื่อเน้นย้ำถึงความเข้าใจในเนื้อเรื่อง เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เรารู้ตัวเองตลอดเวลา
**ส่วนในรายวิชาการเรียนการสอนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นทักษะชีวิต ทักษะอนาคต ICT  คือสามารถทำให้เราได้เห็นการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ การแสดงออกถึงคำพูด ตัวหนังสือ ล้วนแต่มากระบวนการคิดที่หลากหลายทำให้เรารู้สึกได้เลยว่านักเรียนที่นี่เป็นนักเรียนที่มีระบบการจัดการกระบวนการคิดได้เร็วมาก ส่งผลให้งานออกมาค่อนข้างดีเลยทีเดียว และกิจกรรมที่มีมาเพิ่มของม.๒ ก็คือการตัดต่อหนังสั้นและการแสดงพื้นบ้านของไทย ๔ ภาค ซึ่งนักเรียนในห้องทุกคนก็ต้องใจทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างดีมาก


1 ความคิดเห็น: